ไขมันพอกตับ ภัยเงียบสาเหตุของตับแข็ง โรคมะเร็งตับ

324

ไขมันพอกตับ หรือ ไขมันเกาะตับ ไม่ได้หมายถึงว่ามีไขมันมาพอกหรือเกาะบนตับนะคะ และไม่ใช้ว่าคนที่มีน้ำหนักมากหรือคนที่อ้วนลงพุงจะเป็นโรคนี้ได้เท่านั้น แม้แต่คนผอมๆ ก็ต้องระวังตนเองด้วยเหมือนกัน เพราะไขมันอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุอื่นๆเช่นกันคะ แต่โอกาสอาจจะน้อยกว่าคนอ้วน

ไขมันพอกตับ

สาเหตุการเกิด ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับเกิดจากการสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปกติ  ทำให้ไขมันโดยเฉพาะไตกรีเซอร์ที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของตับ ซึ่งจะทำให้ตับทำผิดปกติ อธิบายง่ายๆก็คือ ไขมันพอกตับเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้เกิดไขมันในตับ เมื่อตับไม่ได้นำไขมันไปใช้หรือไม่ย่อยสลายไขมันตามที่ควรจะเป็นก็จะเกิดไขมันสะสมขึ้นที่ตับ อย่างไรก็ตามไขมันพอกตับอาจเกิดในผู้ที่มีภาวะของโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การดื่มแอลกฮอล์มากเกินไป การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และภาวะขาดสารอาหาร ก็ได้เช่นกัน

เราสามารถแบ่งการเกิดไขมันพอกตับได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เกิดจากการดื่มแอลกฮอล์ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยเวลาที่ดื่ม และกลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากแอลกฮอล์ โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี น้ำหหนักตัวเกิน (มีค่าดัชนีมวลกาย 25-30 )

ไขมันพอกตับสามารถแบ่งระยะการดำเนินโรคได้ 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะแรก เป็นระยะที่ไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลใด คือไม่มีอาการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
  • ระยะที่สอง เป็นระยะที่ตับเริ่มอักเสบ หากไม่ควบคุมให้ดีและปล่อยให้มีการอักเสบต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ระยะที่สาม ตับอักเสบรุนแรงเกิดพังผืดในตับ และเซลล์ตับค่อยๆถูกทำลายลง
  • ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้

อาการของโรคไขมันพอกตับ

เนื่องจากอาการของโรคไขมันพอกตับนั้นดำเนินไปค่อยข้างช้า กล่าวคือเมื่อไขมันพอกตับแล้วมักจะใช้เวลานานหรืออาจใช้เวลานานกว่า 10 ปี ที่จะพัฒนาเป็นโรคตับแข็งขั้นที่ 1

โดยปกติแล้วไขมันพอกตับมักไม่แสดงอาการทางร่างกายแต่อย่างไร หรืออาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ โดยไม่สามารถชี้เฉพาะเจาะจงไว้ว่าเป็นโรคไขมันพอกตับ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา โดยส่วนมากมักตรวจพบโรคไขมันพอกตับเมื่อผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดจากการตวรจสุขภาพประจำปี โดยผลเลือดจะทำให้ทราบว่ามีการอักเสบหรือความผิดปกติของตับจากค่า SGPT และ SGOT จะแสดงค่าสูงกว่าปกติคือเกิน 40 mg/dl นั้นเองคะ การอัตราซาวด์ก็จะเห็นไขมันที่พอกตับ ซึ่งผู้ป่วยมักจะทราบเมื่อมารับการตรวจสุขภาพเสียมากกว่าคะ

การรักษาเมื่อรู้ว่ามีไขมันพอกตับ

การรักษามุ่งเน้นที่จะลดไขมันสะสมและลดการอักเสบของตับในกรณีที่ตับอักเสบแล้ว สำหรับผู้ป่วยที่มีไขมันพอกตับแต่ไม่ได้มีการอักเสบของตับก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาคะ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไขมันพอกตับมักเกี่ยวกับเมตาโบลิกซินโดรม คือโรคอ้วนลงพุง จึงจำเป็นต้องควบคุมลดน้ำหนักโดยไม่ลดน้ำหนักเร็วจนะเกินไป ควรอยู่ที่ 0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ ควบคุมอาหาร เช่น ลดอาหารรสหวาน ไขมันสูง อาหารจำพวกแป้ง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ควรเลือกออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดิน วิ่ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตามไขมันพอกตับมากขึ้นทุกวันทุกวัน สุดท้ายก็คงไม่พ้นการเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับคะ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหากต้องเผชิญกับภาวะไขมันพอกตับอีก ก็จะยิ่งส่งผลให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นยากต่อการรักษาด้วยนะคะ อวัยวะทุกส่วนในร่างกายล้วนมีหน้าที่เป็นของตนเองเมื่อส่วนใดทำงานได้ไม่ดีหรือเสื่อมสภาพลง ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่อวัยวะส่วนอื่นๆ และระบบทั่วทั้งร่างกายคะ

ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม :
ไขมันพอกตับใครบ้างที่ต้องระวัง : bumrungrad.com
ตับ : mmc.co.th
สาระน่ารู้ สุขภาพ : thaisabuy.com/health/