น้ำมันเครื่อง เรื่องน่ารู้สำหรับคนมีรถ

185

น้ำมันเครื่อง คือ น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่มีการสันดาปภายใน ซึ่งมีทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซิน น้ำมันเครื่องจะทำหน้าที่หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหวภายในระบบเครื่อยนต์ อาทิ ลูกสูบ เพลาข้อเหวี่ยง นอกจากนี้น้ำมันเครื่องยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อน ป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์ ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ปัจจุบันน้ำมันเครื่องมีวางออกจำหน่ายหลายยี่ห้อ และหลายประเภท เราควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่องไว้บ้างนะคะ เวลาไปเปลี่ยจะได้ไม่ถูกหลอก

น้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง สามารถแบ่งได้ถึง 3 แบบ คือ

1. แบ่งตามชนิดน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน หากเราแบ่งตามชนิดของน้ำมันหล่อลื่นจะแบ่งย่อยได้ 3 ชนิด

  • น้ำมันเครื่องธรรมดา (Mineral Oil) ผลิตจากน้ำมันดิบ หรือน้ำมันจากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์  มีอายุการใช้งานสั้นกว่าชนิดอื่นๆ ได้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic, Synthetic Blend) ผลิตจากน้ำมันแร่และน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ตามสัดส่วนที่ต่างกัน ทำให้มีคุณสมบัติดีกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา สามารถใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานสังเคราะห์ มีความบริสุทธิ์สูง มีการระเหยต่ำ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานด้วยสมรรถนะสูง ได้วิ่งได้ประมาณ 10,000-15,000 กม. ห น้ำมันประเภทนี้จะมีคุณสมบัติทนต่อความร้อนสูงได้ดี และไหลได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ แต่ราคาค่อนข้างสูง

2. แบ่งตามความหนืด ความหนืดจะเป็นตัวป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆในระบบเครื่องยนต์ น้ำมันที่มีความหนืดต่ำจะไม่สามารถคงสภาพเป็นฟิลม์บางๆ แทรกระหว่างผิวของโลหะได้ แต่ถ้าความหนืดมากเกินไปก็ไม่สามรถดูดไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆได้อย่างทั่วถึง  น้ำมันเครื่องที่แบ่งตามความหนืด มีด้วยกัน 2 ประเภท

  • น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว สมาคมวิศวกรรมยานยต์แห่งสหรัฐอเมริการ หรือ SAE ได้กำหนดมาตรฐานโดยแบ่งตามค่าความข้นใสหรือค่าความหนืด ได้แก่ SAE 0W, 5W,10W,15W,20W,25W  อักษร W ใช้สำหรับประเทศเขตหนาว และ SAE 20,30,40,50, 60 สำหรับในเขตร้อน ตัวเลขที่แสดงนั้นยิ่งสูงยิ่งมีค่าความหนืดมาก
  • น้ำมันเครื่องเกรดรวม  เป็นน้ำมันเครื่องที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ได้ทั้งเขตร้อนและเขตหนาวคะ โดยมีค่าดัชนีความหนืดสูง สามารถทนการเปลียนแปลงของอุณภูมิได้ดี เช่น SAE 10W-30, 15W-40, 20W-50

3. แบ่งตามชั้นคุณภาพด้านการใช้งาน ซึ่งมาตรฐานถูกำหนดโดยสถาบันปิโตเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา ทำการแบ่งตามประเภทของเครื่องยนต์ คือ

  • น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะใช้อักษร S นำหน้ามาตรฐาน API ได้แก่ API SA, SB, SC, SE, SF, SG, SH,SJ, SL, SM และ SN  โดยตัวอักษร A-N เป็นการแบ่งระดับชั้นคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ได้พัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น
  • น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้ตัวอักษร C นำหน้ามาตรฐาน API ได้แก่ API CA, CB, CC, CD, CD-II, CE, CF-4, CF, CF-2, CG-4, CH-4,CI-4, CI-4 PLUS และ CJ-4

เมื่อเราเลือกน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับรถของคุณแล้ว เรามาดูวิธีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องกันดีกว่า ว่าอยากหรือง่าย หากคุณไม่สะดวก กลัวเลอะเทอะ กลัวทำไม่ถูกวิธี คุณก็สมารถเลือกเข้าศูนย์หรือร้านที่บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ใช้เวลารอไม่นานคะ การปล่อยให้ให้เครื่องยนต์ใช้น้ำมันเครื่องเก่าๆ ที่เกินระยะเวลาเปลี่ยนมานานแสนนาน ทั้งดำ สกปรก จะส่งผลให้ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์เสียกายรุนแรจากความสามารถในการหล่อลื่นต่ำกว่ามาตรฐาน ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยรต์ลดลง อัตราการเร่งไม่ดี เกิดปัญหากับระบบไฟของตัวรถ เรียกว่าส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทุกระบบเลยคะ

ทั้งหมดนี้เป็นข้อควรรู้ของ น้ำมันเครื่อง คุณควรจะทราบว่ามีกี่ประเภท และประเภทไหนเหมาะสมกับรถคุณ เหมาะกับลักษระการใช้งานของคุณ และอย่าลืมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อถึงระยะเวลาเปลี่ยนถ่าย เพราะต่อให้น้ำมันเครื่องจะดี ราคาแพงแค่ไหน แต่ถ้าทิ้งไว้นานเกินเวลาที่ควรเปลี่ยน รถของคุณอาจต้องพบปัญหาหลายเรื่องตามมา อาจจะเสียเงินแพงกว่าค่าน้ำมันเครื่องอีกนะคะ