ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อาการ สาเหตุ วิธีการรักษาโรค

7004

โรค ITP (Immune Thrombocytopenic Purpura) คือ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือ โรคเกล็ดเลือดต่ำ โรคนี้เป็นอย่างไร? โรคเกล็ดเลือดต่ำ ป้องกันยากแต่รักษาได้ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีเกล็ดเลือดต่ำมาก หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเกิดอาการเลือดออกจนเสียชีวิตได้

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

สาเหตุของ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

สาเหตุของการที่เกล็ดเลือดต่ำนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม สามารถทำให้ผู้ป่วยหายและมีชีวิตเป็นปกติได้ เกล็ดเลือด เป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือด เกล็ดเลือดมีหน้าที่สำคัญ ที่ช่วยทำให้เลือดอยู่ในภาวะปกติ ไม่เกิดภาวะเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก การทำงานที่ดีนั้นจำนวนของเกล็ดเลือดต้องอยู่ในระดับปกติ

จำนวนเกล็ดเลือดหากน้อยกว่า 150,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จึงอยู่ในภาวะที่เรียกว่าเกล็ดเลือดต่ำ แต่ถ้าต่ำกว่า 20,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรมีโอกาสเลือดออกได้เองโดยไม่ต้องมีบาดแผล ซึ่งโดยปกติเกล็ดเลือดคนเราจะอยู่ที่ 150,000 – 450,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำเกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญดังนี้

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำและปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคนี้

  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรค SLE หรือโรคภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือระบบน้ำเหลืองต่าง ๆ ผิดปกติ
  • ผู้ที่ป่วยและอยู่ในภาวะโลหิตจาง (โรคธาลัสซีเมีย) ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวาร
  • ติดเชื้อไวรัสบางชนิดเข้าสู่ร่างกายและเกิดการฟักตัวจนเกิดเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำขึ้น
  • การได้รับยาบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย
  • ผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคเกี่ยวกับเลือดต่างๆ เช่น มีเลือดออกแบบผิดปกติ หรือเป็นโรคซีด
  • ผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากภายนอกสู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นม้ามแตก หรือช็อกโกแลตซีสต์
  • เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อาศัยอยู่บริเวณมลภาวะในอากาศ
  • การเสียเลือดมากจากการเกิดอุบัติเหตุ
  • มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • ได้รับสารเคมีบางอย่างจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • การรับประทานอาหารที่มีสารเคมีปะปนอยู่
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่องหรือร่างกายอ่อนแอ
  • เกิดจากเซลล์พลาสม่าที่ผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างแอนติบอดี้ได้
  • เม็ดเลือดแดงเกิดการแตกแบบฉับพลัน
  • ภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก

อาการของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เมื่อเกล็ดเลือดต่ำถึงระดับหนึ่ง จะมีอาการเลือดออก มักเกิดที่ผิวหนังเป็นจุดเลือดออกแดงๆ จ้ำๆ คล้ายยุงกัด กดแล้วไม่จางหายไป ให้เราสังเกตุจ้ำเลือดตามจุดต่างๆ ของร่างกายดังนี้

  • มีจ้ำเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจุดๆ หรือจ้ำแดงๆ คล้ายยุงกัด แต่ไม่นูนขึ้นมาและไม่มีอาการคัน โดยไม่มีสาเหตุใดๆ มาก่อน
  • มีลักษณะพรายย้ำ จ้ำเขียว ขึ้นตามร่างกายในตำแหน่งที่ไม่ได้โดนกระแทก หรือไมาได้เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ที่ ต้นแขน หลัง หน้า ลำตัว
  • ในผู้หญิง อาจมีปัญหาเรื่องของประจำเดือนมาผิดปกติ มามากกว่าปกติ โดยไม่ได้ทานยาคุมหรือฉีดยาคุมมาก่อน
  • การมีเลือดออกตามเยื่อบุต่างๆ ที่เกิดขึ้นเอง เช่น เลือดกำเดาไหล หรือ เลือดออกตามไรฟัน โดยไม่มีปัญหาในช่องปากมาก่อน

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

ภาพจาก pantip.com – ครั้งหนึ่ง ที่ฉันเป็นโรค (ITP) เกล็ดเลือดต่ำ

ดูแลตนเองเมื่อเป็นผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ

ควรระวัง หรือไม่เสี่ยงกับการกระทบกระแทกอย่างแรง เช่น การปีนขึ้นไปทำงานในที่สูง เสี่ยงต่อการตกลงมา การเกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชน การเล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ หรือการเดินชนสิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน

อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยเกล็ดเลือดต่ำ

สารอาหารที่ช่วยในการสร้างเลือด คือ

  • วิตามินอี ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง ถั่ว อาหารทะเล เมล็ดพืช จมูกข้าว และไข่
  • วิตามินเค มีมากในผักใบเขียว มันฝรั่ง เครื่องในสัตว์
  • ธาตุเหล็ก มีมากในตับ ปลา เนื้อแดงถั่วฝัก ลูกเกด แป้งถั่วเหลือง
  • โฟเลท มีมากมีในตับ ข้าวกล้อง ผักใบเขียวเข้ม
  • อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ เช่น ผลไม้สด น้ำผลไม้คั้นสด เป็นต้น

ใบมะละกอรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำได้

ข้อมูลจากยูทูป youtube.com : ใบมะละกอมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินเอ, วิตามินบี1, วิตามินซี และ วิตามินอี แคลอรี่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และน้ำใบมะละกอมีเอนไซม์ ที่สำคัญที่ช่วยย่อยอาหารโดยการสลายโปรตีนธรรมชาติ

หากเราพบว่ามีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าเราจะมีอาการเกล็ดเลือดต่ำหรือเปล่า การพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเป็นสิ่งที่เร่งด่วนและควรทำมากที่สุด