อ้วนหรือไม่อ้วน? รู้ได้จาก..ดัชนีมวลกาย

263

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index / BMI) คือ การแสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูงของแต่ละบุคคล และสามารถระบุระดับความสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้ ค่าดัชนีมวลกายเป็นค่าที่นำมาวินิจฉัยว่าใครมีน้ำหนักตัวเกินหรือใครเป็นโรคอ้วนนั้นเอง การคำนวณดัชนีมวลกายโดยการนำน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) ตัวหารด้วยความสูง(หน่วยเป็นเซนติเมตร) แล้วยกกำลังสอง ดังนั้นหน่วยของดัชนีมวลกายจึงเป็น กิโลกรัม/เมตร 2 แต่โดยทั่วไปไม่นิยมใส่หน่วยของดัชนีมวลกายกันคะ

ดัชนีมวลกาย
ค่าเกณฑ์มาตรฐานของชาวยุโรปกับชาวเอเซียก็ต่างกันคะ โดยค่าดัชนีมวลกายมาตรฐานของชาวยุโรป อยู่ที่ 18.5-22.9 ในขณะที่ค่าดัชนีมวลกายมาตรฐานของชาวเอเซียอยู่ที่ 18.5-24.9 ซึ่งหากค่าดัชนีมวลกายที่ได้มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์แสดงว่าบุคคลคนนั้น ผอมหรือมีภาวะทุพโภชนาการ แต่ถ้าได้ค่าสูงกว่าเกณฑ์แสดงว่าบุคคลคนั้น อ้วนหรือมีภาวะโภชนาการเกิน

โปรแกรมคำนวนดัชนีมอลกาย (BMI)

เราสามารถแบ่งระดับความอ้วน (คือมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าเกณฑ์) ของคนเอเซีย ได้ 4 ระดับคะ

ระดับที่ 1 มีค่าดัชนีมวลกายที่ 23.24.9
ระดับที่ 2 มีค่าดัชนีมวลกายที่ 25-29.9
ระดับที่ 3 มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30
ระดับที่ 4 มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 40เป็นระดับที่รุนแรงที่สุด

ดังนั้นการมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 ขึ้นไป เรียกว่าน้ำหนักตัวเกิน แต่ถ้ามากกว่า 30 เรียกว่า เป็นโรคอ้วน แล้วคะ โรคอ้วนจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของคนทั่วโลก เมื่อน้ำหนักตัวเกินมากๆ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่วในถุงน้ำดี อันเนื่องจากมีไขมันในเลือดสูงทำให้น้ำดีจากตับมีไขมันสูงตามไปด้วย ไขมันจึงตกตะกอนเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ง่าย โรคเกี่ยวกับการหายใจ เช่น โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ ความอ้วนยังเป็นปัจจัยส่งให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นสภาวะอ้วน น้ำหนักเกินมากๆ ส่งผลให้บุคคลนั้นมีปัญหาทางสังคม อายกับรูปร่างตนเอง กลายเป็นคนเก็บตัว เก็บกด ซึมเศร้า ขาดความมั่นใจในตัวเอง ได้คะ

อย่างไรก็ตามค่าดัชนีมวลกายในผู้ใหญ่และในเด็กต่างกัน เพราะเด็กจะอยู่ในวัยเจริญเติบโตและมีความแตกต่างกันในการเจริญเติบโตระหว่างเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง หากต้องคำนวณจะต้องนำอายุและเพศเข้ามาคำนวณด้วย เรียกว่า BMI for Age percentile ดังนั้นการคำนวณดัชนีมวลกายที่ใช้อยู่จึงใช้คำนวณในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปเท่านั้น

นอกจากนี้ ดัชนีมวลกาย ไม่สามารถนำมาคำนวณในกลุ่มคนเหล่านี้ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ นักเพาะกายอาชีพ (น้ำหนักตัวที่ เกินมาเป็นน้ำหนักกล้ามเนื้อ) ผู้ที่มีภาวะบวมน้ำ เช่นผู้ป่วยโรคหัวใจวาย โรคไตบางชนิด และที่เด็กวัยกำลังโต

สำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาจเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมากและได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และต้องมีปริมาณพลังงานที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และควรออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป และหากมีความวิตกกังวลกับความผอม อาจไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดอีกครั้งได้

ในขณะที่ผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐานตั้งแต่ง 25 ขึ้นไป และมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง อาจมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จึงควรต้องควบคุมปริมาณอาหารและปริมาณพลังงาน ในการบริโภคในแต่ละมื้อ และหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

ค่าดัชนีมวลกายนั้นมีประโยชน์เหมือนเป็นเครื่องเตือนให้เราได้ทราบถึงสภาพร่างกายของเราและภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ หากท่านมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์แล้วโรคต่างๆก็จะห่างไกล แต่สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินก็ควรรีบควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์จะดีที่สุด ก่อนที่จะอ้วนไปกว่านี้และเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมามากมายนะคะ

ข้อมูลเพิ่มเติม:
ดัชนีมวลกาย : haamor.com
โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน : haamor.com
เพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน : med.mahidol.ac.th