เช็กก่อนใช้! รู้จักลวดเชื่อม 3 ประเภทที่คนส่วนใหญ่มักใช้ผิด

142

เมื่อพูดถึงการเชื่อม หลาย ๆ คนอาจเข้าใจว่าเป็นการหลอมเหล็กให้เข้ากันเฉย ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เพียงแต่จะต้องใช้ฝีมือและประสบการณ์ในการเชื่อมเท่านั้น แต่ช่างผู้เชี่ยวชาญยังต้องเลือกลวดเชื่อมให้ถูกต้องตามเนื้องาน และวัสดุที่ต้องการจะเชื่อมเพื่อให้ได้งานออกมาดี มีมาตรฐาน และสามารถใช้งานได้อย่างทนทาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ลวดที่เอาไว้เชื่อมนั้นจะมีด้วยกันหลากหลายแบบ แตกต่างกันไปตามการใช้งาน

ลวดเชื่อม

แต่รู้หรือไม่? ในงานช่างเชื่อมนั้นยังมีลวดเชื่อม 3 ประเภทที่หลาย ๆ คนยังเข้าใจผิดและคิดว่าเป็นลวดชนิดเดียวกันอยู่จนทำให้บางครั้งเลือกใช้ลวดผิดประเภทจนงานออกมาไม่ตรงกับความต้องการได้ แล้วลวดทั้ง 3 จะแตกต่างกันอย่างไร หากใช้ผิดแล้วจะเป็นอันตรายจริงหรือไม่ มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย!

ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ 

ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ หรือลวด Covered Welding Electrode ถือเป็นลวดอีกหนึ่งประเภทที่มีการใช้งานหลากหลาย เนื่องจากราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย โดยตัวลวดนั้นจะมาพร้อมกับสารเคลือบฟลั๊กซ์ (Flux) ที่สามารถใช้ได้กับงานเชื่อมเหล็ก และงานเชื่อมสแตนเลส แต่จะไม่เหมาะกับการเชื่อมที่ต้องการความแข็งแรงสูง ๆ หรือวัสดุที่มีความเปราะบางมาก ๆ

ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ 

ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์  หรือ Flux Cored Wire นั้นจะแตกต่างจากลวดไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์โดยสิ้นเชิง โดยลวดไส้ฟลักซ์นี้จะเป็นลวดที่นำสารพอกเข้าไปบรรจุไว้ในแกนกลางแทนที่จะหุ้มไว้ด้านนอก ดังนั้นจึงทำให้การใช้งานมีความปลอดภัยมากกว่า อีกทั้งยังสามารถให้คุณภาพงานเชื่อมที่สูงกว่า และสามารถงานได้รวดเร็วมากกว่าลวดที่หุ้มฟลั๊กซ์เอาไว้ นอกจากนี้ ลวดประเภทยังมาพร้อมกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นม้วนยาว แต่ในขณะที่ลวดหุ้มฟลั๊กซ์จะมาเป็นแบบแท่งเหมือนธูป

ลวดเชื่อมอาร์กอน 

ลวดเชื่อมอาร์กอน หรือ Tig Welding Rod จัดเป็นลวดสำหรับงานเชื่อมที่เอนกประสงค์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายจนทุกคนคิดว่าลวดตัวนี้เหมาะกับทุกคนและใคร ๆ ก็ใช้ได้ ซึ่งนอกจากจะเหมาะกับงานหลายประเภททั้งงานเชื่อมโลหะที่ต้องการความละเอียดมาก ๆ งานเชื่อมเหล็ก สแตนเลส รวมถึงยังสามารถใช้กับงานเชื่อมทองเหลืองได้แล้ว แต่ลวดประเภทนี้ก็มาพร้อมกับราคาที่ค่อนข้างสูง มีความละเอียดอ่อน และต้องใช้โดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากช่างมีประสบการณ์และฝีมือที่ไม่มั่นคง การใช้ลวดประเภทนี้เชื่อมอาจทำให้งานเสียหายได้ง่ายเช่นกัน

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก่อนทำงานเชื่อมทุกครั้งก็สามารถเลือกลวดเชื่อมที่เหมาะกับงาน งบประมาณ และผลลัพธ์ในระยะยาวได้แล้ว อย่าลืมนำความรู้ที่นำมาฝากนี้ไปใช้ในการเลือกลวดที่เหมาะสมด้วยนะ