กดจุดรักษาโรค..ด้วยนิ้วมือ ศาสตร์แพทย์แผนจีนโบราณ

805

การกดจุดเป็นการรักษาโรคของแพทย์แผนจีนโบราณ มีหลักการว่าในร่างกายของคนเรามีจุดลมปราณเป็นจำนวนมากซึ่งเชื่อมต่อกัน มีผลสะท้อนถึงพลังในร่างากย เส้นประสาท การไหลเวียนของโลหิต การทำงานของอวัยวะและต่อมน้ำเหลืองต่างๆทั่วร่างกาย เมื่อเรากดจุดที่เป็นบริเวณที่สะท้อนกันของอวัยวะก็จะทำให้เป็นการกระตุ้นอวัยวะนั้นๆ ทำให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกติและสมดุลได้

กดจุดรักษาโรค

กดจุดรักษาโรค คือ การใช้นิ้วมือกดลงไปบริเวณจุดต่างๆของร่างกาย ไม่ใช่การนวดถูด้วยฝ่ามือ การกดจุดเป็นศาสตร์ในการรักษาและบำบัดอาการของโรคได้หากเรากดให้ถูกจุด การกดจุดพัฒนามาจากการฝั่งเข็ม การกดจุดเป็นการกระตุ้นสมรรถภาพของร่างกายด้วยวิธีทางธรรมชาติและสามารถรักษาหรือระงับโรคต่างได้เป็นอย่างดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี นอกจากนี้การกดจุดยังช่วยกระตุ้นระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายได้เป็นอย่างดี ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ วิธีการกดจุดไม่มีความยุ่งยากอะไรใช้เพียงนิ้วมือของเราเอง (บางคนอาจให้ใช้ไม้กดจุดช่วย) ก็สามารถทำได้เอง เพียงแต่ต้องศึกษาวิธีการกดและจุดหรือตำแหน่งที่กดให้ถูกต้องเท่านั้นเองคะ

การกดจุดที่เราพบกันบ่อยคือ การกดจุดที่ฝ่าเท้า ฝ่าเท้าของคนเรามีเส้นลมปรารณใหญ่ 6 เส้น เชื่อมต่อกันกับอวัยวะต่างๆ เราจึงสามารถฝังเข็มกระตุ้นที่ฝ่าเท้า เพื่อรักษาโรคตามหลักเส้นลมปรารณ การกดจุดที่ฝ่าเท้ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการแบ่งร่างกายออกเป็นส่วนๆ ซึ่งแต่ละส่วนจะไปสิ้นสุดที่ปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าของแต่ละนิ้ว มีการเชื่อมต่อระหว่างส่วนย่อยที่ฝ่าเท้ากับอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย เราจึงเรียกฝ่าเท้าว่าเป็นพื้นที่สะท้อนของอวัยวะนั้นๆ เช่น การกดบริเวณหัวแม่เท้าจะสะท้อนกับศีรษะ เป็นต้น

เรามาลองดูวิธีการกดจุดฝ่าเท้าเพื่อรักษาโรคเบื้องตน

1. การกดจุดรักษาโรคไข้หวัด กดจุดบริเวณส่วนเว้าด้านข้างของนิ้วหัวแม่เท้าทั่งสองฝั่ง กดแล้วคลายทำติดต่อกันประมาณ 5-10 นาที แล้วเปลี่ยนไปกดนิ้วหัวแม่เท้าอีกข้างหนึ่ง จุดดังกล่าวเป็นจุดที่สะท้อนกับจมูกและปอด ทำให้หายใจสะดวกขึ้น บรรเทาอาการไข้หวัดได้

2. การกดจุดรักษาโรคภูมิแพ้ กดจุดบริเวณตรงกลางของนิ้วหัวแม่เท้า ออกแรงกดแล้วคลาย ค่อยๆเพิ่มแรงกด ทำติดต่อกัน 5-10 นาที แล้วเปลี่ยนไปทำกับนิ้วหัวแม่เท้าอีกข้าง จุดนี้จะเกี่ยวข้องกับต่อมไต ที่มีหน้าที่ผลิตสารป้องกันอาการภูมิแพ้นั้นเอง

3. การกดจุดรักษาโรคเกี่ยวกับปอด กดจุดบริเวณใต้ตาตุ่มและอยู่หลังข้อเท้า ออกแรงกดแล้วคลาย เบาแล้วค่อย สลับกันไปมา ทำสัก 10-15 นาที จึงเปลี่ยนไปทำเท้าอีกข้างหนึ่ง จุดนี้มีความเกี่ยวข้องกับปอด เป็นการบริหารปอดให้แข็งแรง

4. การกดจุดรักษาไมเกรน กดจุดบริเวณปลายนิ้วหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง ปวดศีรษะข้างไหนก็กดนิ้วหัวแม่เท้าข้างนั้น กดแรงและเบาสลับกัน สัก 10-15 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรนได้

การกดจุดสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อเฉพาะจุดได้ โดยอาศัยหลักที่ว่าเมื่อเรากดนิ้วค้างไว้ในจุดนั้นเพื่อให้พังผืดที่เกาะรั้งกล้ามเนื้อคลายตัว การกดค้างไว้ในบริเวณจุดนั้นก็จะขาดเลือด และเมื่อปล่อยนิ้วเลือดก็จะวิ่งกลับมามากขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตบริเวณที่กด เมื่อกล้ามเนื้อมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นก็จะช่วยลดอาการปวดจากการขาดเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ

อย่างไรก็ตามการกดจุดในส่วนต่างๆของร่างกายก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เช่น กดจุดที่ฝ่าเท้าก็ห้ามกดจุดเมื่อมีประจำเดือน ในขณะตั้งครรภ์ และหลังรับประทานอาหารเสร็จยังไม่เกิน 1 ชั่วโมง เป็นต้น การห้ามกดจุดในบริเวณที่เป็นมะเร็งเพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งกระจายตัว และผู้ที่มีการติดเชื้อ เช่น ฝี หนอง ทางเดินน้ำเหลืองอักเสบ ข้ออักเสบ หรือในบริเวณที่เพิ่งได้รับการบาดเจ็บหรือเลือดออกที่ยังไม่หายสนิท ก็ไม่ควรกดจุดบริเวณนั้นนะคะ

ก่อนจบบทความมีวิดีโอกดจุดรักษาโรคจากยูทูปมาแนะนำค่ะ “ทำตามป๊า | ท่ากดจุด ลดความดัน” (youtube.com) — มาดูเคล็ดลับของป๊าที่ทำให้ความดันลดลง กับการกดจุดง่ายๆ บนข้อมือ (คำเตือน : ป๊าวัดความดันทุกวัน ยาความดันเลิกกินโดยพละการไม่ได้ ต้องปรึกษาแพทย์)

ช้อมูลอ้างอิง
การกดจุด : thaicam.go.th
การนวดกดจุดฝ่าเท้าคืออะไร : lib.ru.ac.th
กดจุดบำบัด การกดจุดศาสตร์การแพทย์แผนจีนฝั่งซีกโลกตะวันออกที่ไม่ควรมองข้อม : nakhu.com
วิธีการกดจุดรักษาโรคเบื้องต้น 1-2 : yesspathailand.com
การกดจุด หยุดปวด : si.mahidol.ac.th