ไตวาย เฉียบพลันและเรื้อรัง โรคร้ายที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา

202

ไตวาย หรือ ไตล้มเหลว คือ ภาวะที่ไตสูญเสียการทำงาน ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกทางปัสสาวะ ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ต่างๆ และสร้างฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนที่ใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูก ฮอร์โมนควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น เมื่อไตวายทำให้ไม่สามารถขับของเสียต่างๆ เกลือแร่ออกมาได้ ทำให้คั่งค้างอยู่ในร่างกายของเรา เมื่อไตวายร่างกายก็จะเสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย ทำให้แขนขาบวม น้ำท่วมปอด กระหายน้ำ

ไตวาย

ไตวาย มีด้วยกัน 2 ชนิด

1. ไตวายเฉียบพลัน คือภาวะที่เกิดขึ้นกระทันหัน ในเวลาที่รวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยเองไม่เคยเป็นโรคไตมาก่อน ส่วนมากเกิดจากเลือดไปเลี้ยงไตได้น้อยลง เพราะ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำเกินไป ยา สารพิษ ทางเดินปัสสาวะอุดตันและภาวะไตอักเสบ การติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามไตวายในลักษณะนี้ แพทย์สามารถรักษาให้ไตกลับสู่ภาวะปกติได้ แต่ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดไตวายซ้ำได้อีก และค่อยๆเสื่อมลงจนเป็นไตวายเรื้อรังได้

2. ไตวายเรื้อรัง เป็นการที่ไตถูกทำลายอย่างช้าๆ เป็นเวลาที่ยาวนาน สาเหตุสำคัญของไตวายเรื้อรังมักเกิดจากโรคประจำตัวของคนป่วยเอง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดจากไตอักเสบเรื้อรัง นิ่วในไต การใช้ยา โดยเฉพาะยาแก้ปวดที่ทานอย่างต่อเนื่อง อาการของไตวายเรื้อรังมักจะไม่ค่อยแสดงออกให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงต้นๆ แต่สามารถตรวจได้จากปริมาณค่าของเสียในร่างกายได้ โดยการเจาะเลือด และกว่าจะปรากฎอาการ เช่น ซีด เพลีย บวม ก็เมื่อไตเสื่อมไปมากแล้ว

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจะต้องควบคุมและรักษาอาการของโรคที่เป็นอยู่ให้อยู่ในภาวะที่ปกติมากที่สุด เช่น ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ระดับความดันโลหิต แต่ปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นไตวายเรื้อรัง คือการซื้อยามารับประทานเอง หรือรับประทานยาสมุนไพร ซึ่งอาจมีส่วนผสมบางอย่างที่กระตุ้นให้ไตเสื่อมได้เร็วขึ้น

การรักษาโรคไตวายเรื้อรังนั้น จะรักษาตามสภาพไต หากเป็นในระยแรกๆคือเนื้อไตเสียแล้วแต่ไม่มาก แพทย์ก็จะรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมปัจจัยต่างๆที่จะทำให้ไตเสื่อมสภาพ ช่วยชะลอการทำลายไตให้ช้าลงและยืดเวลาที่จะเข้าสู่ระยะที่ต้องใช้อุปกรณ์ทดแทนไต แต่ไม่สามารถฟื้นคืนเนื้อไตที่เสียแล้วให้กลับมาเป็นดังเดิมได้คะ แต่หากไตได้รับความเสียมาก ก็มีความจำเป็นที่จะต้องฟอกเลือด เพื่อช่วยขจัดของเลือดออกจากร่างกาย และการปลูกถ่ายไต

การฟอกเลือด

การฟอกเลือดเป็นการนำเอาของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือด มี 2ประเภทคื อการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงขึ้นไป และต้องทำการฟอกเลือดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และการฟอกไตทางช่องท้องแบบภาวร (CAPD) เป็นการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาเพื่อกรองของเสียออก โดยผ่านท่อที่ฝังอยู่ในช่องท้อง วิธีการฟอกไตนี้ผู้ป่วยสามารถทำที่บ้านหรือที่ทำงานได้ด้วยตัวเอง เป็นประจำทุกวัน ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางมาที่โรงพยาบาลคะ

การปลูกถ่ายไต

ส่วนผู้ป่วยที่เนื้อไตเสื่อมมากๆ แพทย์จะพิจารณาวิธีปลูกถ่ายไต เป็นการผ่าตัดเอาไตของผู้ป่วยออกและนำไตของคนอื่นมาใส่ทดแทน โดยส่วนมากไตใหม่นั้นมาจากผู้เสียชีวิตที่บริจาคอวัยวะให้กับสภากาชาด หรือได้มาจากผู้ที่มีความประสงค์บริจาคไตขณะมีชีวิตอยู่ เช่น จากญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือจากคู่สมรสที่มีการจดทะเบียนสมรสไม่น้อยกว่า 3 ปี

การบำบัดโรคไตวายเรื้อรังมีค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดในบรรดาโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ดังนั้นหากเราดูแลไตของตนเองอย่างดี เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต แต่หากไตของท่านป่วยเสียแล้ว ก็ควรปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ เลี่ยงอาหารโปรตีนสูง ฟอสเฟสสูง น้ำตาลสูง ควบคุมน้ำและเกลือแร่ เพื่อเป็นการชะลอให้ไตเสื่อมช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอาจรับประทานสมุนไพรบำรุงไตควบคู่ไปด้วยคะ

ข้อมูลอ้างอิง

การรักษาภาวะไตวาย : bumrungrad.com
อาหารบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนฟอกเลือด : nephrothai.org (pdf)
ไตวาย ไตล้มเหลว : haamor.com
ไตวายเฉียบพลันเป็นอย่างไร : siphhospital.com